หน้าแรก ผลิตภัณฑ์ของเรา บทความน่ารู้ เกี่ยวกับเรา ติดต่อเรา
WHAT 'S BIOMETRICS TECHNOLOGY ?
Biometrics Technology
 
“ไบโอเมตริกซ์ คืออะไร?”
ไบโอเมตริกซ์ คือ มาตรวัดทางชีวภาพ โดยใช้วิธีการสกัดและแยกแยะเอกลักษณะเฉพาะ ที่มีความแตกต่างและไม่ซ้ำกันอย่างสิ้นเชิงของมนุษย์เป็นดัชนีชี้วัด เพื่อใช้พิสูจน์ทราบ และยืนยันตัวตนของบุคคลผู้เป็นเจ้าของรหัสทางชีวภาพเหล่านั้นได้อย่างถูกต้องแม่นยำ เชื่อถือได้ 100%
*** หมายเหตุ : เป็นการให้ความหมายจำกัดความเฉพาะด้าน ที่เกี่ยวกับ “เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการระบุตัวตนของมนุษย์” เท่านั้น
“ข้อมูลทางชีวภาพที่นิยมใช้นั้นมีอะไรบ้าง?”
“ไบโอเมตริกซ์ เทคโนโลยี” ถือเป็นวิทยาการทางเทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์ที่ก้าวหน้า และนำมาใช้แก้ปัญหาข้อจำกัดในสารระบบต่าง ๆ ที่ต้องใช้อ้างอิงต่อความน่าเชื่อถือของการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลได้อย่างแม่นยำ 100% ในหลากหลายรูปแบบและวิธีการซึ่งการเลือกใช้ข้อมูลทางชีวภาพ ที่เป็นที่ยอมรับและเชื่อถืออย่างกว้างขวางในปัจจุบัน ได้แก่ข้อมูลชีวภาพทางเคมี (Chemistry), ข้อมูลชีวภาพเชิงกายภาพ (Physiological), และข้อมูลชีวภาพเชิงพฤติกรรมของมนุษย์ (Behavioral) : ตัวอย่างก็เช่น การใช้รหัสพันธุกรรม (DNA), ลักษณะม่านตา (Iris Pattern), ลายนิ้วมือ (Fingerprint), รูปหน้า (Facial), ฝ่ามือ (Palm Geometry), ลักษณะของมือ (Hand Geometry), การลงลายเซ็นต์ (Dynamic Signature), การพิมพ์ (Keystroke Dynamics), ท่าเดิน (Gait Recognition), เสียงพูด (Voice) เป็นต้น
“ทำไมถึงต้องเลือกใช้เทคโนโลยีไบโอเมตริกซ์ ประเภทลายนิ้วมือ?”
ความน่าเชื่อถือในแง่ของข้อมูลชีวภาพทางกายภาพที่สะดวกและปลอดภัยนั้น ม่านตาของมนุษย์มีความละเอียดซับซ้อนและแตกต่างกันได้มากอย่างเหลือเชื่อ และสามารถใช้ได้กับทุกคน แต่อาจไม่ค่อยเหมาะสมมากนักในแง่การลงทุน หรือความสะดวกสบายอีกทั้งผู้ใช้อาจจะยังกังวลต่อความเสี่ยงในสภาวะการติดเชื่อทางตาได้ ในขณะที่ลายนิ้วมือมนุษย์นั้นกลับมีความสะดวก ง่ายและรวดเร็วมากว่า และดูจะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ข้อเด่นอีกประการก็คือลายนิ้วมือของมนุษย์นั้น จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาหรืออายุขัยของคน ผิดกับการใช้ไบโอเมตริกซ์เชิงกายภาพประเภทอื่นที่อาจเปลี่ยนแปลงไปได้ในระยะเวลา หรือช่วงสภาวะใดสภาวะหนึ่งของมนุษย์ รวมถึงไบโอเมตริกซ์เชิงพฤติกรรมต่าง ๆ เหล่านั้นก็ด้วยเช่นกัน
“เหตุผลใดถึงต้องเลือกระบบการสแกนลายนิ้วมือมาใช้แทนระบบเก่าแบบดั้งเดิม?”
ในแง่ความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือ การใช้ลายนิ้วมือสามารถยุติปัญหาหรือข้อจำกัดต่างๆ ของระบบแบบดั้งเดิมได้ เช่นการใช้บัตรถือ หรือรหัสผ่านที่ไม่สามารถเชื่อถือได้ 100% ว่าผู้ถือบัตรหรือใช้รหัสเหล่านั้น เป็นเจ้าของบัตรที่ได้รับอนุญาตหรือเป็นผู้มีสิทธิที่แท้จริงหรือไม่ และเมื่อเกิดความเสียหายใด ๆ บุคคลย่อมปฎิเสธความรับผิดชอบนั้นได้ เพราะสื่อสังเคราะห์ภายนอกเหล่านี้ ง่ายต่อการถ่ายโอน ปลอมแปลง ใช้แทน หรือลักลอบใช้ได้นั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น การถูกขโมยบัตรหรือถูกถอดรหัส ATM, การทุจริตเวลาทำงานของพนักงาน, การผ่านเข้า – ออกสถานที่สงวน โดยผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต, การแฮ็คก์เข้าสู่ฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีระดับชั้นความลับและความสำคัญสูง เป็นต้น
ในแง่ของความสะดวก ลายนิ้วมือเป็นอวัยวะสำคัญที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่กำเนิด และมีความถนัดที่จะใช้มันในชีวิตประจำวันอยู่เสมอ เมื่อนำมาใช้แทนสื่อภายนอกอื่นๆ จึงมีความสะดวก ง่ายดายกว่า และมีความพร้อมต่อการใช้งานได้อยู่เสมอ ไม่จำเป็นต้องคอยจดจำรหัสต่าง ๆ หรือต้องพกบัตรติดตัวให้ยุ่งยาก วุ่นวาย และไม่ต้องระมัดระวังต่อการสูญหายแต่อย่างใด
“ข้อจำกัด หรืออุปสรรคในการนำระบบดังกล่าวมาอิมพลีเม้นท์ใช้นั้น มีอะไรบ้าง?”
ถึงแม้ว่าระบบ Fingerprint Solution เหล่านี้ ดูเหมือนว่าจะเป็นทางออกที่ดี ในการจะนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างหลากหลาย ตามวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องอาศัยความชัดเจนแน่นอนและแม่นยำเป็นอย่างสูง เพื่อการพิสูจน์ทราบถึงตัวตนของบุคคลได้นั้น แต่อุปสรรคที่เป็นจุดอ่อนที่สำคัญ มักตกอยู่ที่ระบบฮาร์ดแวร์โซลูชั่น ที่ใช้เป็นองค์ประกอบหลักในการอิมพลีเม้นต์ใช้ระบบนั่นเอง ซึ่งพบว่าโครงการที่ล้มเหลวลงส่วนใหญ่นั้น มักเกิดจากการใช้เครื่องสแกนลายนิ้วมือที่มีคุณสมบัติของเครื่อง รวมถึงระบบกลไกระบบ ไม่ได้มาตรฐานอย่างแท้จริง มีคุณภาพและประสิทธิภาพที่ยังต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่จะยอมรับได้ อีกทั้งผู้ใช้ยังขาดความเข้าใจในการเลือกใช้อุปกรณ์ให้ได้อย่างเหมาะสมกับลักษณะการใช้งานที่แท้จริง ตั้งแต่การเลือกชนิดของหัวอ่าน หรือประเภทหัวอ่าน (Fingerprint Sensor), คุณภาพชุดประมวลผล (Fingerprint Module) หรือคุณสมบัติด้านเทคนิค (Specifications) รวมถึงเทคโนโลยีเชิงระบบ (System Technology) เป็นต้น
ข้อจำกัดด้านตัวบุคคลก็ถือเป็นอีกอุปสรรคหนึ่งเช่นกัน ซึ่งพบว่า ยังมีบุคคลบางกลุ่มที่มีปัญหาเนื่องจาก คุณภาพลายบนนิ้วมือ ไม่มีความสมบูรณ์เพียงพอในการใช้ระบบดังกล่าวได้ เช่น ลายนิ้วมือตื้นและบางมากเกินไป จนถึงไม่มีลายนิ้วมือ หรือผิวลายนิ้วมือมีลักษณะหลุดลอกอย่างรุนแรงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งมักจะใช้ระบบเหล่านี้ไม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพนัก รวมไปถึงพฤติกรรมการใช้ที่ไม่คุ้นเคย จึงอาจเกิดข้อผิดพลาด ในการวางนิ้วมือได้อย่างถูกต้อง ก็พบว่าเป็นปัญหาได้ด้วยเช่นกัน
“หลักการในการอิมพลีเม้นท์ระบบดังกล่าวให้สำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ?”
เมื่อเราได้เรียนรู้และเริ่มเข้าใจในหลักการของระบบ “Fingerprint Authentication System” ที่จะนำมาใช้เป็นโซลูชั่นทางเลือกได้แล้ว สิ่งที่ต้องมองต่อไปอีกว่า “แล้วกลยุทธ์อะไรที่จะนำเราไปสู่การอิมพลีเม้นต์ใช้ได้จนสำเร็จอย่างราบรื่น” ก็เมื่อเราได้ทราบถึงข้อดีและอุปสรรค ข้อจำกัด รวมถึงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ นั่นแล้ว เราอาจต้องทบทวนและพึงควรระวังใน 3 ประเด็นหลัก ๆ ดังนี้
1. ความชัดเจนหรือลักษณะความต้องการจะใช้ที่แท้จริง ได้แก่ลักษณะงานที่ต้องการนำไปใช้ เป็นในลักษณะใด เช่น ด้านระบบรักษาความปลอดภัย ในการเข้าถึงสถานที่ (Security Access Control), การนำไปทดแทนระบบการลงเวลาการทำงาน (Time Attendance), หรือการพิสูจน์สิทธิ์ในการเข้าถึงทางซอฟท์แวร์ / การสืบค้นทะเบียนประวัติเชิงฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ และการยืนยันการทำธุรกรรมด้วยลายนิ้วมือ (Fingerprint on PC Solution) เป็นต้น เพื่อจะได้นำเอาความต้องการใช้เหล่านั้นเป็นโจทย์ในการเลือกเครื่องสแกนลายนิ้วมือ และซอฟท์แวร์จัดการระบบได้ตรงตามเป้าวัตถุประสงค์
2. การเลือกคุณสมบัติของเครื่องสแกนลายนิ้วมือที่ดี ให้ตรงกับความต้องการใช้ หรือเหมาะสมกับลักษณะงาน คุณภาพและประสิทธิภาพ รวมถึงความยืดหยุ่นและคุ้มค่า น่าจะเป็นเกณฑ์การพิจารณาในตัวเลือกที่ดี และเหมาะสมมากที่สุด หากแต่การเลือกสินค้าที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการใช้จริง เป็นเหตุให้เกิดความยุ่งยากและปัญหามากมายภายหลังการใช้งาน สิ่งหนึ่งนั้นที่เป็นตัวบอกถึงความมีมาตรฐานที่ดี ก็คือ “แบรนด์สินค้า” และความน่าเชื่อถือของ “ผู้ผลิต” เพราะนั่นเป็นดัชนีชี้วัดเบื้องต้น ที่ประกันความเสี่ยงด้านคุณภาพสินค้า ที่จะนำมาใช้บนความคาดหวังของผู้ใช้ที่ต้องมั่นใจในระบบได้
การลงทุนที่คุ้มค่านั้นก็ยังต้องไม่มองข้ามด้านคุณสมบัติพิเศษ และประสิทธิภาพของเครื่องสแกนลายนิ้วมือ ไม่ว่าจะเป็นหัวใจสำคัญที่สุด คือ เลนส์หัวอ่าน (Lenses sensor) และชุดประมวลผล (Fingerprint Module) ที่ควรจะต้องเลือกใช้เป็น ออฟติคัลชนิด “Crystal” แท้ ๆ ที่มีความแกร่ง และเสถียรภาพสูงสุด ควบคู่ไปกับชุดประมวลผลภายในที่เชื่อถือได้เท่านั้น อีกทั้งความยืดหยุ่นและความทันสมัยของระบบ หรือเทคโนโลยีที่มากับผลิตภัณฑ์ และซอฟท์แวร์จากผู้ผลิตโดยตรงที่มีศักยภาพสูง รวมไปถึงความสามารถทางด้าน “Specifications” ที่สอดรับกับประสิทธิภาพ ไม่ว่าด้านความเร็วในการประมวลผล หรือความจุทางด้านการจัดเก็บข้อมูล และความจุลายนิ้วมือในฐานข้อมูลที่มากพอ เป็นต้น
3. การลดข้อจำกัดที่เกิดจากตัวบุคคล และพฤติกรรมการใช้ระบบ ให้ต่ำที่สุดและสร้างมาตรการรองรับปัญหาที่อาจจะเกิดข้อจำกัดที่เกิดจากตัวบุคคลที่มีปัญหาไม่มีลายนิ้วมือที่ชัดเจนพอ และพฤติกรรมการใช้ระบบที่ไม่ถูกต้องเนื่องจากยังไม่คุ้นชินกับการใช้ระบบ รวมไปถึงการต่อต้านระบบจากผู้ใช้ ปัญหาเหล่านี้ ผู้บริหารระบบต้องมีความเข้าใจที่ดีเสียก่อน เพื่อสร้างมาตรการรองรับล่วงหน้า ก่อนการใช้ระบบอย่างจริงจังจะช่วยลดปัญหา และย่นเวลาในการอิมพลีเม้นต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
(ก) กรณีข้อจำกัดที่เกิดจากตัวผู้ใช้คือการที่ไม่มีลายนิ้วมือที่มีคุณภาพดีเพียงพอ : ประเด็นนี้ควรหาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพที่ดีพอเนื่องจากประสิทธิภาพในการอ่านและยอมรับลายนิ้วมือจะดีกว่า ช่วยลดข้อจำกัดตรงส่วนนี้ได้ดีพอสมควร และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีระบบการตราจสอบคุณภาพลายนิ้วมือก่อนจัดเก็บ (Fingerprint QC Module) โดยซอฟท์แวร์ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการสร้างแม่แบบลายนิ้วมือ ที่เป็นต้นฉบับ (Master Templates) ที่ดีเสียก่อน อีกทั้งยังสามารถรู้ได้อย่างชัดเจนตั้งแต่แรกเลยว่า มีผู้ใช้คนใดไม่สามารถใช้ระบบนี้ได้ โดยให้การพิสูจน์ทราบจากระบบเอง และหากเกิดกรณีดังกล่าวขึ้นจริง ก็สามารถระบุเจาะจงไปได้ว่า บุคคลนี้สามารถใช้เพียงรหัสผ่าน หรือบัตรผ่านแทนลายนิ้วมือได้เป็นกรณีพิเศษ เพื่อให้ได้ใช้ระบบและฐานข้อมูลร่วมกับผู้อื่นได้นั่นเอง
(ข) กรณีที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ ของผู้ใช้ระบบที่ยังไม่คุ้นเคย : ประเด็นนี้มักจะเกิดขึ้นได้ในช่วงแรก ๆ ของการเริ่มอิมพลีเม้นต์ใช้ระบบ ซึ่งจะพบว่า ผู้ใช้สับสนในวิธีการใช้งานระบบ เช่น ไม่ทราบว่าต้องกดปุ่มใด ๆ ก่อนหรือไม่, การวางนิ้วต้องวางลักษณะใด, ต้องใช้นิ้วใดกันแน่, ต้องวางนิ้วกี่ครั้ง เป็นต้น การแก้ปัญหาเหล่านี้ ก็เพียงแต่ฝึกอบรม หรือทำความเข้าใจต่อผู้ใช้ระบบ ตามลักษณะเป้าหมาย ที่ต้องการใช้ของผู้ดูแลระบบ ว่าจะให้เป็นไปในลักษณะใด เพื่อผลลัพธ์ที่ได้จะต้องสอดคล้องกับความต้องการในการประมวลผลต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องต่อไป ซึ่งการให้ความรู้ต่อผู้ใช้ระบบนั้น จะช่วยลดความผิดพลาดในการใช้งานระบบ รวมถึงทำให้ผู้ใช้คุ้นชินจนกลายเป็นความสะดวกสบายของผู้ใช้เองได้เช่นกัน
(ค) กรณีผู้ใช้งานบางส่วน พยายามต่อต้านระบบ : กรณีนี้อาจเกิดขึ้นได้ หากผู้ใช้ระบบรู้สึกว่า การนำโซลูชั่นเหล่านี้ไปอิมพลีเม้นต์ใช้ ดูเป็นการจำกัดหรือควบคุมมากจนเกินไป ซึ่งอาจจะทำให้เห็นว่า ระบบไม่มีความน่าเชื่อถือที่ดีพอ เช่น การอ้างว่าได้ลงเวลาการทำงานแล้ว แต่ระบบไม่ยอมรับ หรือใช้งานไม่ได้, ยุ่งยากซับซ้อน เป็นต้น
การสร้างความเข้าใจด้านระเบียบวินัยและความรับผิดชอบของพนักงาน ที่เป็นผู้ใช้ระบบ ยังคงเป็นเรื่องที่จำเป็นในเบื้องต้น หลังจากนั้น ควรมีระบบควบคุม และตรวจสอบพฤติกรรมของผู้ใช้ระบบ ว่าปัญหาเหล่านั้นเป็นข้อเท็จจริงแล้วหรือไม่ ระบบ “Fingerprint Authentication System ” ที่ดีนั้น ควรจะต้องมีระบบการตรวจสอบเหตุการณ์การลงลายนิ้วมือผ่านระบบทุกครั้ง (จัดเก็บรายการทั้งหมด) เพื่อตรวจสอบย้อนหลังได้ หรืออาจจะใช้ร่วมกับระบบอื่น ๆ เช่น มีการใช้บัตรหรือรหัสควบคู่กับการใช้ลายนิ้วมือ, หรือเลือกระบบที่มี “Webcam Camera” เพื่อทำการ “Capture” ใบหน้าของผู้ใช้ทุกครั้งไว้ในระบบ, หรืออาจใช้ร่วมกับกล้องวงจรปิดที่มีอยู่แล้ว เป็นต้น ก็สามารถยุติปัญหาดังกล่าวนี้ได้ดียิ่งขึ้น
Triplebridge Possibilities home
SUPREMA UNION COMM NITGEN & COMPANY SOFTWARE SOLUTIONS CUSTOMER SUPPORTS ABOUT US
BioStation ViRDI AC-6000 NAC-5000 Business Plus Payroll FAQs Business Background
BioLite Net ViRDI AC-5000 NAC-3000 Business Plus Account Manuals Mission
BioEntry Plus ViRDI AC-4000 NAC-2500 Business Plus POS Downloads Vision
Xpass ViRDI AC-2100 HAMSTER-II Troubleshooting Policy
D-Station ViRDI AC-1000 ARTICLES Product documents
X-Station ViRDI Hamster Remote Desktop Service CONTACT US
BioMini